top of page

เมื่อไหร่ที่ควรจ้างที่ปรึกษาการตลาด?

การเขียนแผนการตลาด จะเป็นเรื่องที่จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะนอกจากจะต้องใช้ทฤษฎีตามที่เรียนมาแล้ว อีกส่วนที่สำคัญมากและขาดไม่ได้เลย คือประสบการณ์ในการคลุกคลีกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเหล่านั้น รวมไปถึงทักษะในการค้นคว้าข้อมูลทางการตลาด เมื่อสิ่งเหล่านี้เมื่อประกอบกันแล้ว จะทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้ถูกทาง จนนำไปสู่ยอดขายที่ต้องการ

ด้วยความซับซ้อนในการสร้างแผนการตลาดนี้เอง ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ช่วยย่นระยะเวลาในการดำเนินการ และการันตีความเชี่ยวชาญในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่มากกว่า นั่นก็คือการหาที่ปรึกษาการตลาด แต่สำหรับใครที่ต้องการทำความเข้าใจด้วยตัวเอง ก็สามารถนำหลักที่ว่านี้ไปลองปรับใช้กับธุรกิจของทุกท่านกันก่อนก็ได้ครับ

แผนการตลาด ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ที่ต้องนำมาวิเคราะห์ประกอบกันได้แก่

1.สถานการณ์ตลาดปัจจุบัน - เพื่อบอกได้ว่าปัจจุบันมีการแข่นขันในตลาดที่เรากำลังจะลงไปแข่งขันมีบรรยากาศดีๆ หรือน่าเป็นห่วงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นยอดขายปัจจุบันของเรา การเติบโตของคู่แข่ง ต้นทุน-กำไร กลยุทธ์ที่คู่แข่งใช้ รวมไปถึงเรื่องที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจ เช่น สถานการณ์การเมือง เป็นต้น

2.บทวิเคราะห์โอกาสทางตลาด - ในส่วนนี้เราอาจใช้โมเดลที่คุ้นหูกันดีอย่าง SWOT ประกอบไปด้วย S-Strength (จุดแข็งของธุรกิจ ), W-Weakness (จุดอ่อนของธุรกิจ) , O-Opportunity (โอกาสของการทำธุรกิจ) และ Threats (อุปสรรคในการทำธุรกิจ) และโมเดลอื่นๆ ที่เหมาะสม ทำให้เรารู้จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจตัวเอง ทำให้เรารู้ได้ว่าตรงไหนควรแก้ กลยุทธ์ไหนควรเสริมก่อนลงสนามการตลาดของจริง

3. วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินการ - กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนและผลลัพธ์ที่คาดหวัง ควรครอบคลุมทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เช่น ต้องการผลกำไรเท่านี้ภายในกี่เดือน

4. กลยุทธ์การตลาดที่ใช้ - เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ช่วยให้ทุกแผนการตลาดขับเคลื่อนไปได้ แต่ละธุรกิจย่อมใช้โมเดลที่ต่างกัน แต่เบื้องต้นที่ต้องหาออกมาให้ได้คือโมเดล STP (S-Segmentation, T-Targeting, P-Positioning) ซึ่งทำให้เรารู้จักและเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากขึ้นว่าเป็นใคร มาจากไหน มีพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร และตำแหน่งเราใจในลูกค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่งเป็นอย่างไร เป็นต้น

5. แผนการเงิน - คาดการสถานการณ์ไว้ทั้ง 3 แบบ ดี ปกติ และแย่ที่สุด เอาไว้ เพื่อที่เราจะได้วางแผนทางการเงินรับมือกับสถานการณ์แต่แบบได้ถูกต้อง และยังทำให้สามารถคาดการณ์กำไร-ขาดทุนในอนาคตได้รวมไปถึงการบริการสภาพคล่องทางการเงินที่หมุนเวียนในธุรกิจได้อีกด้วย

6. แผนควบคุมการปฏิบัติงาน - ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่า แผนดำเนินการต่างๆ ที่ได้ทำไป สัมฤทธิ์ผลมากน้อยแค่ไหน และมีวิธีปฏิบัติอย่างไรหากสถานการณ์จริงกับแผนที่วางไว้ไม่เหมือนกัน เป็นต้น

นี่คือหลักคิดเบื้องต้นของการวางแผนการตลาด ในกรณีที่ธุรกิจมีเริ่มมีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น การหาที่ปรึกษาการตลาดไว้ เพื่อช่วยวิเคราะห์ สร้าง และดำเนินแผนการตลาด ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความจริงจังในการทำธุรกิจครับ

 
 
 

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
คุยกับเรา
bottom of page