top of page

9 สาเหตุ ธุรกิจ SMEs ล้มเหลว


เนื่องด้วยผมเป็นที่ปรึกษาของ SMEs จำนวนมากกว่า Corporate และความใกล้ชิดก็มากกว่าด้วย ทำให้ส่วนตัวผมมีความอินกับ SMEs มากกว่า และพอมาดูสิถิติของธุรกิจ SMEs พบว่าร้อยละ 80 ปิดกิจการภายหลังเปิดมาไม่เกิน 5 ปี

สิ่งแรกเลยที่เกิดขึ้นมาในหัวผมทันที ทำไม !!! ผม Start with Why? เลย คนเหล่านี้ไม่ใช่คนที่ไม่ขยัน ไม่สู้ชีวิต ไม่อดทน เพียงแต่แค่ทำในสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องเพียงเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าธุรกิจ Donald Trump กล่าวสรุปไว้ดีมากที่ว่า “ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของแพ้หรือชนะ แต่เป็นเรื่องของการต้องชนะเท่านั้น” เพราะเกมธุรกิจเป็นเกมที่ต้องชนะเท่านั้น ผมเลยขอนำประสบการณ์มาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ SMEs ล้มเหลว เพื่อเป็นบทเรียนมิให้กระทำตามนะครับ

  1. ขาดทุนสะสม เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่ขนาดไหนก็ล้มละลายได้ กล่าวคือ เกิดการขาดทุนในแต่ละปี อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุนานับประการ เช่น การผลัดเปลี่ยนของธุรกิจแบบโทรศัพท์หยอดเหรียญเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือจากฟิลม์เป็นดิจิตอล หรือการที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปแต่เราปรับตัวตามไม่ทัน ทำให้เกิดภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่องจนกินทุน

  2. ขาดสภาพคล่อง เป็นสาเหตุหลักๆ เลยด้วยซ้ำเนื่องด้วยการทำธุรกิจจะพบเจอปัญหาอยู่แล้วและทุกธุรกิจ ดังนั้นหากใครไม่มีช่วงถอยที่มากพอ จะทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจนต้องไปกู้หนี้ยืมสิ้น หากหามาชดใช้ได้ก็ดีไป แต่ถ้าหากไม่เป็นไปตามคาดการณ์ อาจทำให้ปัญหามากขึ้นกว่าเดิม จนยากจะแก้

  3. ขาดการตลาดและการขาย สินค้าของเรานั้นเด็ดและดีมากเลย แต่ไม่เราไม่เคยประกาศหรือบอกกล่าวมัน ไม่มีใครสามารถพบมันได้ ก็ทำให้มันล้มได้เหมือนกันนะครับ

  4. ขาดการมอบหมายงาน โดยเฉพาะ SMEs ชอบมากๆเลยที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง บางทีมันก็เป็นโซ่ตรวนที่ทำให้เราไม่ก้าวหน้านะครับ คือ เราควรรู้ว่า ณ จุดนี้เราควรทำอะไร เช่นช่วงแรกก่อตั้งธุรกิจเงินทุนไม่มาก โอเคเราทำเองได้ครับ แต่พอถึงจุดที่ธุรกิจตั้งไข่ได้แล้วต้องการไปต่อ บางทีเรื่องที่ลกสมองไม่สร้างงานเราควรจ้างคนมาทำแทน เพื่อที่เราจะได้ไปพัฒนาอย่างอื่นต่อครับ

  5. ไร้ความแตกต่าง ทำให้ธุรกิจเรามีความเสี่ยงอย่างยิ่งครับ ทำให้เราตกอยู่ในการแข่งขันทะเลเลือด สีแดงฉาดเลยทีเดียว เพราะเราก็ขายในสิ่งที่เหมือนกับในตลาด ทำการตลาดแบบคนอื่นๆ นั้นอยากยิ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มที่จะทำให้เราอยู่รอดในตลาดได้ครับ

  6. ทุ่มเกินเหตุในสิ่งที่ไม่น่าลงทุน อาจจะด้วยรสนิยมหรือความชอบส่วนตัวในหลายๆด้าน ไม่ใช่เป้นสิ่งไม่ดีนะครับแต่มันต้องอยู่ในที่ที่เหมาะสม กล่าวคือ เราไม่ควรไปลงทุนกับสิ่งที่ยังไม่สร้างยอดให้กับธุรกิจ เช่น นามบัตรแพงมากๆ เว๊บไชต์ที่แพงจนเกินไป งบโฆษณาที่ลงไม่ตรงกลุ่มจนทำให้แพงจนเกินไป ซึ่งต้องทำให้เหมาะสมกับช่วงเวลาของธุรกิจครับ

  7. ประเมินเวลาและเงินลงทุนไว้ต่ำเกินจริง ขาดไม่ได้เลยข้อดี เพราะหลายๆคนเป็นเช่นนี้ มองโลกธุรกิจในแง่ดีเกินไป เน้นแรงใจสู้ ดีครับแรงใจดีแต่สิ่งสำคัญเลย ต้องมองมันว่า “คุ้มหรือไม่” ส่วนตัวผมเรียก Feas หรือเปล่า (อย่าลืมนะครับ ธุรกิจไม่ได้สำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก หากแต่ธุรกิจจะสำเร็จก็ต่อเมื่อ ผ่านการทดลองทำปรับเปลี่ยน ร้อยครั้งพันครั้งจนประสบความสำเร็จครับ หากเราไม่เผื่อเงินทุนและเวลามองแง่ดีเกินไปก็ทำให้ธุรกิจปิดตัวได้ครับ) เช่น เงินเดือนเดิม 50,000 อาจออกมาขายเสื้อผ้าแบรนด์ตัวเอง กำไรขั้นต้นตัวละ 500 เหลือกำไรสุทธิ 250 ดังนั้น หากอยากได้เงินเดือนเท่าเดิมต้องขายให้ได้ 200 ตัวภายในหนึ่งเดือนครับ ต้องดูว่าเราทำได้เหรือไม่ Feas หรือเปล่าแล้วจึงลาออกจะดีกว่า ไม่งั้นสายป่านสั้นทำธุรกิจก็จะล้มเหลวป่าวๆครับ

  8. ล้มเหลวในการสร้างแนวร่วม อย่าคิดว่าตวเองทำได้ทุกอย่างครับ สำคัญมาก เราควรจ้างคนที่ควรจ้างครับ ในสิ่งที่เราทำไม่ได้ หรือเสียเวลาในการดำเนินการครับ และหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับธุรกิจเราครับ เดี๋ยวนี้ไม่ได้เน้นการรวยกระจุกแล้วครับเน้นรวยกระจายมากกว่า

  9. ขาดความเชียวชาญในการมองตลาด อ่านตลาดไม่ขาด พยายามทำให้ทุกคนชอบของเรา ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีทางที่ทุกคนจะชอบของเรา เราต้องวางตำแหน่งทางธุรกิจของตนเอง และจับกลุ่ม Target เราให้ได้

ไม่มีใครอยากไม่ประสบความสำเร็จหรอกครับ และไม่มีใครอยากยอมแพ้อย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องรู้คือ “เราทำในสิ่งที่ถูกต้องและควรทำอยู่หรือไหม” สังเกตุจากด้านบนไม่ได้กล่าวถึงการตลาดเพียงอย่างเดียว แต่ความสำคัญที่ทำให้ธุรกิจล้มละลายได้นั้นก็มีการเงินเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อยหากเพียงบริหารการเงินเงินไม่เป็น ก็เสี่ยงจะเจ็งมิใช่น้อย หากมีข้อสงสัยในธุรกิจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ flyingcomma.com

โดย ภัทร เถื่อนศิริ

 
 
 

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
คุยกับเรา
bottom of page