top of page

เคล็ดลับ คัทเอาท์


เมื่อวาน ระหว่างที่กำลังขับรถกลับบ้าน และก็กำลังคิดถึงหัวข้อที่จะเขียนบทความลงในสัปดาห์นี้ ผมก็เหลือบไปเห็นป้ายคัทเอาท์ (หรือที่บางท่านเรียกว่าป้ายกองโจร หรือป้ายหาเสียงน่ะแหละ) ก็เลยปิ้งว่า เอาละฟะ เอาเรื่องนี้แหละ เพราะผมคิดว่าคงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใครหลายๆคนชอบใช้อย่างแน่นอน เนื่องจากหวังผลได้ในระดับที่เหมาะสม มีราคาต้นทุนที่ไม่ได้สูงมากนัก

เรื่องทั่วๆไปของคัทเอาท์ ก็มีไม่กี่เรื่อง เริ่มจากวัสดุก็เป็นโครงไม้ และใช้ผืนไวนิลด์สั่งพิมพ์ขึงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 1.2 x 2.4 เมตร ราคาต้นทุนต่อป้ายก็ประมาณ 450 – 900 บาท ขึ้นอยู่กับในแต่ละพื้นที่ที่ดำเนินการติดตั้ง หรือความสามารถในการเจรจาต่อรองกับร้านทำป้าย โดยปกติทางร้านฯจะรวมค่าผลิต และติดตั้งมาด้วย โดยในกรณีนี้ก็จะหมายรวมถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขออณุญาตติดตั้งจากหน่วยงานราชการ อาทิ แขวงการทาง เทศบาล เป็นต้น (ผมแนะนำให้ฝากทางร้านเป็นผู้ดำเนินการจัดการให้เบ็ดเสร็จครับ เพราะทางร้านจะชำนาญ และมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าหน้าที่พนักงานที่เกี่ยวข้อง เรื่องทุกอย่างจะราบรื่นดีครับ) การจัดทำจำนวนมาก หรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ และความถี่ในการมองเห็นส่วนใหญ่จะมี 2 – 3 ช่วงจำนวน ได้แก่ 50 – 100 , 200 – 400 และ 500 ป้ายเป็นต้นไป (ต่อ 1 เขตพื้นที่)

เขตพื้นที่ห้ามติด จะทำอย่างไรดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประเด็นนี้ทางร้านบางร้านจะบอกโดยชัดเจนเลยครับ ว่าจุดนี้ไม่ได้แน่ๆ หรือทางร้าน อาจจะติดได้ในระยะเวลาที่ไม่นานเพียงพอ ซึ่งทางร้านจะสามารถจัดหาพนักงานที่จะไปยืนถือป้ายในบริเวณข้างทาง และอาจจะมีกำหนดระยะเวลาการถือป้ายได้เพียงช่วงเสาร์ หรือ อาทิตย์ เท่านั้น

ความคิดที่ดีสำคัญมาก สำหรับประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบอยู่แล้ว แต่สำหรับคัทเอาท์ จะค่อนข้างสำคัญมากกว่าเพื่อน เพราะนอกจากระยะเวลาในการได้รับรู้สื่อของกลุ่มเป้าหมายจะสั้นแล้ว (อาจจะประมาณ 1 วินาทีต่อ 1 ป้าย) พื้นที่แทบทุกเขตที่ติดตั้งป้ายได้จะมีกลุ่มป้ายจำนวนมหาศาล จากหลากหลายแบรนด์สินค้า และบริการ กระจุกตัวอยู่อย่างละลานตา ซึ่งเป็นการเพิ่มข้อจำกัดในการประชาสัมพันธ์อีกลำดับขั้นหนึ่งด้วย แล้วยังไงดีล่ะ ?

การดีไซน์ให้โดดเด่น ฝากไว้แก่ผู้อ่านทุกท่านเลยนะครับ ภาพที่ดี สามารถเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าตัวอักษรหลายเท่า ดังนั้นการสร้างความโดดเด่นในป้าย จึงอาศัยปัจจัยด้านภาพที่จัดพิมพ์เป็นพื้นฐาน อาทิ ภาพที่สวย หรือ ขนาดใหญ่เพียงพอ เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ในลำดับแรก แล้วจึงเริ่มเกิดความสนใจในส่วนของเนื้อหาในลำดับถัดไป นอกจากนี้ การทำเป็นซีรีย์ให้ต่อเนื่องของป้าย เป็นไอเดียที่ผมนำมาประยุกต์ใช้อย่างเสมอครับ (ผมลองมาหลายแบบแล้วครับ ตามความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่ารูปแบบซีรีย์ Work สุดครับ) ซีรีย์ที่ว่าเนี่ยนะครับ ก็หมายถึง การติดตั้งป้ายฯ ให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ห่างกันไม่เกิณ 5 – 7 เมตร ใช้ป้ายติดต่อเนื่องกันประมาณ 3 – 5 ป้าย มีการใช้ดีไซน์ภาพรวมของป้ายทุกป้าย ให้คล้ายกัน เพื่อให้ดูออกว่าเป็นแบรนด์สินค้า และบริการเดียวกัน (อาจจะมีการเล่นสีที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะใช้สีที่ฉูดฉาด แต่ยังมีระดับ เพื่อสร้างความโดดเด่น) โดยเรื่องที่ใช้เป็นเนื้อหาในการประชาสัมพันธ์นั้น อาจจะเป็นการเน้นข้อความซ้ำๆ หรือ ใจความสำคัญที่มีอยู่หลายใจความ นำมาตีแผ่ให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และน่าติดตาม การจัดวางคัทเอาท์แบบนี้ อาจจะทำให้การกระจายตัวของกลุ่มป้ายลดน้อยลง แต่จะเพิ่มความน่าสนใจต่อ 1 กลุ่มป้ายให้มากยิ่งขึ้น ยังไงท่านผู้อ่านทุกท่าน ก็ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ รับรองว่าได้เรื่องแน่ สำหรับสัปดาห์นี้ สวัสดีครับ

ที่มารูปประกอบ : www.ledtronics.com.my

โดย สกนธ์พัฒน์ อดุลยธรรม

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
คุยกับเรา
bottom of page